ตรวจพบแล้ว ! พาณิชย์ จับกุมผู้ขายไข่แพงเกินราคา-ไม่แสดงป้ายราคา รวม 21 ราย

ตรวจพบแล้ว ! พาณิชย์ จับกุมผู้ขายไข่แพงเกินราคา-ไม่แสดงป้ายราคา รวม 21 ราย

นายสุพพัต อ่องแสงคุณ โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการจับกุมดำเนินคดีผู้จำหน่ายไข่ไก่เกินราคา ที่กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ระหว่างวันที่ 26-28 มีนาคม 2563กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

ดำเนินการจับกุมผู้กระทำผิดทั้งประเทศได้จำนวน 21 ราย แยกเป็นกรุงเทพฯ จำนวน 2 ราย ได้แก่ เขตบางกอกน้อย 1 ราย ข้อหากระทำความผิดตามมาตรา  28 ไม่ปิดป้ายแสดงราคาขาย และ เขตราชเทวี 1 ราย ซึ่งได้แจ้งข้อหากระทำความผิดตามมาตรา 29  จำหน่ายไข่ไก่ในราคา

ส่วนในต่างจังหวัด มีจำนวน 19 ราย แบ่งเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 28 ไม่ติดป้ายแสดงราคาจำหน่าย จำนวน 12 ราย (จังหวัดละ  1  ราย ) ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสระแก้ว จังหวัดพังงา จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเชียงราย และจังหวัด พระนครศรีอยุธยา

และความผิดตามมาตรา 29 ข้อหาจำหน่ายราคาสูงเกินสมควร จำนวน  5 ราย ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ 2  ราย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี  และจังหวัดอ่างทอง จังหวัดละ 1 ราย ความผิดตามมาตรา 28 และมาตรา 29  ไม่ปิดป้ายแสดงราคาและ ราคาสูงเกินสมควร จำนวน 2 ราย คือจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดอยุธยา

ทั้งนี้ โทษที่ผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ในข้อหาขายเกินราคาควบคุม (มาตรา 25) จะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท ข้อหาไม่ปิดป้ายแสดงราคาขาย (มาตรา 28) มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท ข้อหาขายแพงเกินสมควร (มาตรา 29) มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท

“กระทรวงพาณิชย์ ยังคงเดินหน้าตรวจสอบและจับกุมผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะไม่ได้เป็นสินค้าควบคุม แต่หากพบว่ามีการขายแพง มีการกักตุนสินค้า หรือมีการเอารัดเอาเปรียบประชาชน ก็จะดำเนินการตามกฎหมายขั้นเด็ดขาด รวมถึงการตรวจสอบการจำหน่ายหน้ากากอนามัยเกินราคาควบคุม แพงเกินจริง และตรวจสอบการจำหน่ายเจลล้างมือและแอลกอฮอล์ เพราะถือเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 และดูแลผู้บริโภค”

ประกันสังคม – หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ ( 31 มี.ค.63) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เรื่อง ขอทบทวนมติเกี่ยวกับประกันสังคม โดยมีรายละเอียดว่า เพื่อบรรเทาภาระผู้ประกันตน ในการนำส่งเงินสมทบ จึงขอทบทวนขอลดอัตราเงินสมทบที่จัดเก็บสำหรับผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบเอง โดยไม่มีนายจ้าง ตามมาตรา 39 โดยลดจากอัตราเดือนละ 221 บาท เหลือในอัตราเดือนละ 86 บาท

ม.ร.ว.จัตุมงคลฯ ยังกล่าวต่อว่า ที่ประชุม ครม. ยังเห็นชอบให้เพิ่มอัตราและปรับระยะเวลาการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากมีผู้ประกันตนที่ว่างงานอันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัยบางรายได้รับเงินชดเชยในอัตราที่น้อยกว่า 5,000 บาท ต่อเดือน จึงขอทบทวนเพิ่มอัตราและปรับระยะเวลาการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เพื่อให้ผู้ประกันตนที่ว่างงานอันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย ได้รับสิทธิประโยชน์ในอัตราไม่น้อยกว่า 5,000 บาท ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน

กสิกรไทย เตรียมผุด 2 มาตรการ ช่วยเหลือลูกค้าภาคธุรกิจ ทั้งสินเชื่อใหม่ พักต้นและดอก

สุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เผยว่าเตรียมผุดมาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการภาคธุรกิจเพิ่มเติม โดยเตรียมที่จะปล่อย 2 มาตรการใหม่ออกมา ได้แก่ 

มาตรการที่ 1 พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 6 เดือน สำหรับลูกค้าธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารไม่เกิน 100 ล้านบาท จะพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับลูกค้าโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องแจ้งมาที่ธนาคาร ซึ่งจะมีลูกค้าธุรกิจของธนาคารที่ได้สิทธิ์ในมาตรการนี้ประมาณ 140,000 ราย 

นอกจากนี้วงเงินสินเชื่ออื่น ๆ ของลูกค้าที่มีสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารก็จะได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยครอบคลุมถึงสินเชื่อบ้านและสินเชื่อเงินด่วน ให้เข้ามาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยระยะเวลา 6 เดือน

มาตรการที่ 2 การให้สินเชื่อใหม่เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง โดยให้วงเงินสินเชื่อ 20% ของยอดสินเชื่อคงค้าง อัตราดอกเบี้ย 2% ระยะเวลา 2 ปี ฟรีดอกเบี้ย และไม่ต้องชำระเงินต้นใน 6 เดือนแรก สำหรับลูกค้าธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารไม่เกิน 500 ล้านบาท ลูกค้าตรวจสอบสิทธิ์และสมัครได้ที่ www.kasikornbank.com/BOtSoftLoan ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2563 เป็นต้นไป

หลังจากที่มีลูกค้าจำนวน 11,000 ราย ยอดหนี้คงค้าง 147,000 ล้านบาท ธนาคารก็ได้เตรียมเงินสินเชื่อใหม่เพื่อเพิ่มสภาพคล่องภายใต้โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำออมสิน จำนวน 3,600 ราย วงเงิน 14,800 ล้านบาท และโครงการ บสย. SMEs สร้างไทย จำนวน 2,150 ราย วงเงินอนุมัติ 6,700 ล้านบาท

หากลูกค้าที่ประเมินแล้วว่า ตนเองอาจจะได้รับผลกระทบค่อนข้างยาว หรือต้องการความยืดหยุ่นในการผ่อนชำระ หรือมีหลักประกันจำกัด ธนาคารก็พร้อมสนับสนุนสินเชื่อใหม่ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ โดยใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันด้วย

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป